Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน

สถาบันนิวเคลียร์ตั้งศูนย์ฉายรังสีแห่งใหม่เพิ่มค่าให้อัญมณีไทย

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เปิดศูนย์ฉายรังสีอัญมณีแห่งใหม่ภายในศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องค์รักษ์เพื่อ ก้าวสู่ความเป็นศูนย์ฉายรังสีอัญมณีที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในเชียตะวันออก เฉียงใต้

สทน. ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตอัญมณีเพื่อการส่งออก โดยล่าสุดจัดพิธีเปิดอาคารเครื่องเร่งอิเล็กตรอนและเดินเครื่องเร่งอนุภาค อิเล็กตรอนพลังงานสูง (Electron Beam) ขนาด 20 MeV 10 kW ในการเปลี่ยนสีพลอยเนื้ออ่อนเพิ่มพูนค่าอัญมณี พร้อมเป็นศูนย์ฉายรังสีอัญมณีที่ใหญ่ทันสมัยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหนุนเอกชนไทยนำเทคโนโลยีไปใช้ในระดับอุตสาหกรรม

อาคารเครื่องเร่งอิเล็กตรอน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มศักยภาพในการผลิตอัญมณีฉายเพื่อการส่งออก ซึ่งได้รับการอนุมัติจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ด้วยงบประมาณโครงการทั้งสิ้น 375 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น โครงการจัดซื้อเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูง พร้อมติดตั้งจำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 270 ล้านบาท โครงการจัดซื้อเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูง พร้มติดตั้งจำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 270 ล้านบาท โครงการจัดซื้อเครื่องฉายรังสีแกมมาโดยไอไวโทปรังสี Co-60 พร้อมติดตั้ง จำนวน 1 ชุดเป็นเงิน 100 ล้านบาท และงบประมาณบุคลากรอีก 5 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีเศา โดยเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 แล้วเสร็จในวันที่ 7 ธันวาคม 2553

ดร.วีรชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวหลังเป็นประธานในพิธีว่า "ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติ ไมว่าว่าจะเป็นด้านการแพทย์ ทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และการผลิตเป็นยาหรือที่เรียกว่าเภสัชรังสี นอกจากนั้นยังมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในประโยชน์ในด้านการเพิ่มมูลค่าให้แก่ ข้าวและผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ เช่น การฉายรังสีในผลไม้ส่งออกสำคัญ 6 ชนิด ทำให้ผลไม้ของไทยสามารถส่งออกไปเจาะตลาดบนได้ ทั้งในญี่ปุ่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งการนำมาใช้พัฒนาในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ถือว่าเป็นกลุ่มสินค้าที่ส่งออกที่มีความสำคัญติดอยู่ในลำดับ 1 ใน 5 ของประเทศ ดังนั้นการที่ประเทศไทยมีเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีด ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว

ยังเป็นการสร้างบทบาททางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อประโยชน์ใน เชิงอุตสาหกรรม และความร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียน รวมทั้งยังมีการวางรากฐานสำคัญให้เกิดการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยว กับมาตรฐานความปลอดภัยจากการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในสาขาต่าง ๆ ต่อไป"

ด้าน ผศ.ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการ สทน.กล่าวว่า "ปัจจุบันศูนย์ฉายรังสีอัญมณีของสถาบันฯ ให้บริการฉายรังสีอัญมณีด้วยรังสีนิวตรอน จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู วิจัย และรังสีแกมมาจาก เครื่องฉายรังสีโคบอลต์ -60 และให้บริการวัดอนุภาคอิเล็กตรอนพลังงานสูงแล้ว จะทำให้สามารถเปิดให้บริการฉายรังสีอัญมณีด้วยรังสีอิเล็กตรอนได้อีกบริการ หนึ่ง ซึ่งสามารถฉายรังสีอัญมณีได้ถึง 4,800 กิโลกรัม หรือ 24 ล้านกะรัตต่อปี โดยฉายรังสีอัญมณี โดยเฉพาะโทแพช จากสีขาวใสให้เป็นสีฟ้าอ่อน ที่เรียกว่า Sky blue และสีฟ้าสดใสที่เรียกว่า Swiss blue โทแพช ที่ผ่านการฉายรังสีจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 5-30 เท่า ส่วนทัวร์มาลีนจะเปลี่ยนจากสีใสหรือชมพูอ่อน เป็นสีชมพูเข้มจนถึงสีแดงคล้ายทับทิม และไข่มุกเปลี่ยนจากสีนวลเป็นโทนตะกั่ว นอกจากนี้ยังสามารถปรับการทำงานของเครื่องเร่งอนุภาคอิเล็กตรอนนี้ให้สามารถ ฉายแผ่น Semicondutor ซึ่งใช้กันมาในอุตสาหกรรมรถยนต์ Hybrid ได้อีกด้วย"

ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการด้านอัญมณีไทยต้องนำอัญมณีไปฉายรังสีด้วยเครื่อง เร่งอนุภาคไกลถึง สหรัฐ อังกฤษ และเยอรมนี หากศูนย์รังสีอัญมณีแห่งใหม่เปิดใช้บริการ จะช่วยเพิ่มความสะดวกและลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการได้ คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ประเทศเพิ่มขึ้นปีละกว่า 3 พันล้านบาท

โดยผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับไทย ที่ส่งออกพลอยเนื้ออ่อนไปฉายรังสีในต่างประเทศ สามารถร่วมการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนา ผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เปลี่ยนจากระบบรับจ้างผลิตมาเป็นอุตสาหกรรมนี้ สามารถออกแบบและสร้างแบรนด์ของตนเองได้

ผู้ที่สนใจใช้บริการของ ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี สามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี โทร 0 2596 7600 ต่อ 3419 ทุกวัน จันทร์-ศุกร์ เวลา 09:00-17:00 น.

ข้อมูล หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม

1/03/2554 | Posted in | Read More »

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด