Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

Diamond Certificate

ใบรับรองคุณภาพเพชร (Diamond Certificate or Diamond Grading Report)  หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "ใบเซอร์" เป็นเอกสารที่ระบุคุณสมบัติของเพชรเม็ดหนึ่งๆ โดยที่จะไม่มีเม็ดใดเหมือนกันเลย เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของเพชรเม็ดนั้น คุณสมบัติที่ระบุอยู่ในเอกสารนี้ ได้แก่ สัดส่วน น้ำหนักกะรัต การเจียระไน และคุณภาพอื่นๆของเพชร  แต่จะไม่มีการประเมินราคาเพชรไว้ในใบรับรองคุณภาพ เอกสารนี้จะออกโดยสถาบันอัญมณีศาสตร์ (Gemological Institute) ต่างๆ เช่น Gemological Institute of America (GIA) เป็นสถาบันที่ได้รับความน่าเชื่อถือและความนิยมที่สุด Hoge Raad Voor Diamant (HRD) (Diamond High Council, Belgium) เป็นสถาบันที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลเบลเยี่ยม มีชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือมากเช่นกัน กรณีของประเทศไทยก็มีสถาบันที่รับตรวจสอบและออกใบรับรองคุณภาพเพชร เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) เป็นต้น

CERTIFICATE ต่างกับ WARRANTY
WARRANTY คือใบรับประกันคุณภาพสินค้า จะระบุ วัน / เดือน / ปี ที่มีการซื้อ – ขาย และกำหนดระยะเวลาของการรับประกัน
CERTIFICATE จะไม่ระบุมูลค่าของสินค้า แต่จะระบุ วัน / เดือน / ปี ที่ได้รับการตรวจสอบ ไม่มีวันหมดอายุ เนื่องจากติดมากับเพชรเม็ดนั้นๆ

ทำไมต้องมีใบรับรอง
-ทำให้มั่นใจอย่างสูงสุดว่าจะได้รับคุณภาพเพชรที่ต้องการจริงๆเท่านั้น
-ประหยัดเวลาหาความรู้ไปได้มาก ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเพชรก็สามารถซื้อได้อย่างมั่นใจ
-สามารถเปรียบเทียบราคาจากร้านจิวเวลรี่หลายๆร้านสำหรับราคาที่ดีที่สุด โดยใช้คุณภาพในใบรับรองเป็นการอ้างอิง
-หากมองว่าเพชรคือการลงทุนแล้ว ใบรับรองจะเป็นการปกป้องการลงทุนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเพชรแต่ละเม็ดมีคุณภาพเป็นอย่างไร สามารถนำไปอ้างอิงกับราคาในตลาดได้
-หากต้องมีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนตัวเรือน คุณสามารถตรวจดูได้ว่าคุณได้เพชรเม็ดเดิมกลับมาหรือไม่ ไม่มีเพชรเม็ดใดในโลกที่เหมือนกันเนื่องจาก Inclusion ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่ง Inclusion เหล่านี้เป็นสิ่งที่ใช้แยกความแตกต่างเพชรของแต่ละเม็ดออกจากกัน โดยในใบรับรองจะระบุขนาด/ตำแหน่งของ Inclusion ไว้ ทำให้สามารถตรวจสอบเพชรจากใบรับรองได้ทันที

รายละเอียดในใบรับรองคุณภาพ
ใบรับรองคุณภาพของแต่ละสถาบันก็จะมีหน้าตาที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยหลักๆแล้วจะประกอบไปด้วยข้อมูลคล้ายๆกัน จะขอยกตัวอย่างใบรับรองคุณภาพของ GIA ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้

GIA Diamond Certificate
Source : GIA

Identification number หมายเลขใบรับรองคุณภาพที่ช่วยให้สามารถย้อนหาข้อมูลของเพชรเม็ดนั้นได้จากสถาบันที่ออกใบรับรอง
Shape and Cutting Style บอกถึงรูปทรงของเพชร เช่น Emerald, Brilliant Cuts (Round, Oval, Pear, Heart, Marquise) สำหรับ Princess Cut ในใบรับรองคุณภาพของ GIA จะใช้คำว่า square modified brilliant
Radiant จะใช้คำว่า rectangular cut-cornered modified brilliant
และ Asscher จะใช้คำว่า square emerald

Princess Cut
Radiant CutAsscher Cut 
 
Source : platinum-wedding-bands-rings-jewelry.com


Measurement ระบุเป็นมิลลิเมตรจนถึงทศนิยมตำแหน่งที่สองซึ่งจะวัดจากเครื่องมือวัดอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะ ประกอบด้วยความยาว ความกว้าง และความสูง ด้วยข้อมูลที่ละเอียดถึงทศนิยมตำแหน่งที่สอง จึงเป็นประโยชน์ในกรณีที่เพชรถูกสับเปลี่ยน เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสามารถหาเพชรที่มีขนาดได้เท่ากันพอดี
Weight น้ำหนักของเพชร มีหน่วยเป็นกะรัต (carat)
Proportions ระบุส่วนต่างๆของเพชร ได้แก่
-Depth เปอร์เซนต์ (%) ความสูงเมื่อเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลาง
-Table เปอร์เซนต์ (%) ความกว้างของหน้า table เมื่อเทียบกับเส้นผ่านศูนย์กลาง
-Girdle ระบุตั้งแต่ thin จนถึง extremely thick พร้อมกับลักษณะที่ได้รับการเจียระไร (faceted) หรือไม่ได้เจียระไน (unpolished)
-Culet ระบุตั้งแต่ large ถึง non-existent โดย culet ที่ระบุว่า large จะถือว่าไม่สามารถยอมรับได้ (unacceptable)

Diamond Anatomy
Source : AM-Diamonds.com

Finish บอกถึงระดับของการขัดเงาและสมมาตรของเพชร โดยสมมาตรจะแสดงให้เห็นถึงการเรียงตัวที่สมดุลกันระหว่างหน้าเจียระไนของ crown กับ pavillion ซึ่งจะระบุเป็นgood, very good หรือ excellent
Clarity เปรียบเทียบจาก GIA grading scale โดยจะระบุเพียงแค่ระดับเดียวเท่านั้น ไม่มีการระบุเป็นช่วง (เช่น VS2-VS1) หรือระบุโดยไม่มีตัวเลขกำกับ (เช่น VS หรือ SI)
Color เปรียบเทียบจาก GIA grading scale โดยระบุระดับของสีเพียงระดับเดียวเท่านั้น ไม่มีการระบุเป็นช่วง (เช่น G-H)

fluorescenceFluorescence เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อเพชรได้รับแสงอัลตราไวโอเลต แสงที่เกิดขึ้นจะมีสีฟ้า แต่ก็พบสีอื่นๆด้วย เช่น เหลือง ส้ม ขาว และเขียว โดยเพชรประมาณ 35% ของเพชรที่มีคุณภาพจะเรืองแสงได้ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต และมีประมาณ 10% ของเพชรที่มีคุณภาพจะสามารถเรืองแสงได้ภายใต้แสงอาทิตย์ และแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ และจำนวนน้อยกว่า 2% ของเพชรจะสามารถเรืองแสงได้มากจนทำให้เพชรมีความขุ่นมัว (foggy or milky) 

Comments รายละเอียดอื่นๆนอกเหนือจากข้อมูลพื้นฐานที่ทางสถาบันต้องการให้ทราบ โดยทั่วไปจะเป็นรายละเอียดเล็กน้อยที่ไม่มีผลต่อคุณค่าของเพชร
Plot รูปวาดที่เห็นด้านล่างจะแสดงมลทินภายใน (internal inclusion) และตำหนิภายนอก (external blemish) ที่สามารถมองเห็นได้ภายใต้กำลังขยาย 10 เท่า มลทินและตำหนิเหล่านี้จะวาดลงไปให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่พบในเพชร โดยระบุชนิดและขนาดลงไปด้วย ซึ่งมีประโยชน์ในการระบุความแตกต่างของเพชรแต่ละเม็ด

อ้างอิง : Ananta Jewelry, GIA, Diamond Club

 

Creative Commons License
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย.

หากต้องการใช้บทความนี้เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าหรือมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆก็ตาม กรุณาติดต่อ gemclubcmu@gmail.com ค่ะ

Posted by NonNY~* on 10/28/2551. Filed under , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

0 comments for "Diamond Certificate"

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด