Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

พลอยประจำเดือนเกิด พฤศจิกายน - โทพาซ (Topaz)

YellowTopaz โทแพซ (Topaz) มาจากภาษากรีก โทแพเซียน "topazian" หมายถึงการเสาะแสวงหา คนโบราณ เรียกหินหรือแร่ทุกชนิดที่มีสีเหลืองและสีเขียวว่าโทแพซ ต่อมากลายเป็นชื่อเกาะที่พบพลอยสีดังกล่าว "โทแพโซส (Topazos)" ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งในทะเลแดง ปัจจุบันเกาะนั้นมีชื่อว่า ซีเบอร์เกต (Zebirget)  

โทพาซสีเหลือง นอกจากจะเป็นพลอยประจำเดือนเกิดของคนที่เกิดในเดือนพฤศจิกายนแล้ว ยังเป็นอัญมณีประจำของคนธาตุไฟด้วย ตามความเชื่อที่ว่า แม้โทพาซสีเหลืองจะเป็นพลอยที่ให้ความสงบ แต่ก็ช่วยเพิ่มพลังให้แก่ผู้สวมใส่ นอกจากนี้ยังให้ความกระตือรือร้น ตรงข้ามก็ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย ซ้ำยังให้ความสว่างกับจิตวิญญาณ ในเชิงธุรกิจจะช่วยสร้างมิตรภาพและมีพลังดึงดูดผู้คน ส่วนในเรื่องสุขภาพ จะช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย เช่นตับ ถุงน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ และต่อมหมวกไต

สมบัติของโทพาส
สูตรโมเลกุล Al2(SiO4)(OH,F)2 จัดอยู่ในหมู่ซิลิเกตที่มีองค์ประกอบของอลูมิเนียม ฟลูออรีน และหมู่ไฮดรอกซิล
ระบบผลึก Orthorhombic โดยทั่วไปมักพบทั้งรูปทรงปริซึมแบบแท่งยาว ถึง สั้น มีหลากหลายสี เช่น สีขาว สีเหลือง-เหลืองทอง-เหลืองอมส้ม-ส้ม น้ำตาล ฟ้า ส่วนสีชมพูและแดงค่อนข้างหายาก

ความแข็ง จัดอยู่ในระดับ 8 ของโมห์สเกล
ความถ่วงจำเพาะ อยู่ระหว่าง 3.52 - 3.56 g/cm3
ค่าดัชนีหักเห อยู่ระหว่าง 1.638 - 1.610 ซึ่งจะมีค่าสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมี โดยถ้ามี หมู่ไฮดรอกซิลมาก ค่าความถ่วงจำเพาะจะต่ำ แต่ค่าดัชนีหักเหจะสูง ขณะที่ถ้ามีธาตุฟลูออรีนสูง จะมีค่าความถ่วงจำเพาะจะสูง แต่ค่าดัชนีหักเหจะต่ำ
แหล่งกำเนิด พบมากในประเทศบราซิล รองลงมาคือ เม็กซิโก อเมริกา ศรีลังกา ญี่ปุ่น ไนจีเรีย และรัสเซีย (บริเวณแถบไซบีเรีย และเทือกเขาอูราล)
อัญมณีที่เลียนแบบ ได้แก่ ซิทริน เบริลสีเหลือง คริสโซเบริลสีเหลือง และแก้วสังเคราะห์สีเหลือง เป็นต้น
การปรับปรุงคุณภาพ ส่วนมากอาบรังสีในโทพาซสีฟ้า ส่วนสีเหลืองนั้นเป็นสีธรรมชาติอยู่แล้ว

 

พลอยอีกชนิดหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เลือกเป็นพลอยประจำเดือนพฤศจิกายน คือ ซิทริน (Citrine) มาจากภาษาฝรั่งเศส "Citron" แปลว่า มะนาว เป็นการตั้งชื่อตามสีเพราะมีสีเหลืองมะนาว  แต่ในความเป็นจริงแล้ว ซิทรินมิได้มีสีเหลืองอย่างผลมะนาว แต่จะมีสีอยู่ในช่วงเหลืองอ่อนจนถึงน้ำตาลทองมากกว่า และส่วนมากจะมีสีเหลืองจางๆสีของมันอาจเหลือง เนื่องจากมีเหล็กเป็นมลทินบริสุทธิ์หรืออาจออกเหลืองทึมๆ อาจมีสีน้ำผึ้งหรือเหลืองน้ำตาลและบางครั้งก็อาจมีแต้มสีน้ำตาลปนแดงด้วย และเช่นเดียวกับอะมิทิสต์ สีของซิทรินมักไม่ค่อยสม่ำเสมอ มักเห็นเป็นแทบสีแต่ก็ไม่ชัดเจน
ซิทรินมีความวาวคล้ายอะเมทิสต์ และตามปกติซิทรินที่เจียระไนแล้วจะมีเนื้อที่ใสสะอาด ปราศจากมลทิน ทั้งนี้เพราะในธรรมชาติจะมีซิทรินอยู่อย่างเหลือเฟือและเพียงพอที่จะคัดเอาเฉพาะที่มีคุณภาพดีเยี่ยมเท่านั้นมาเจียระไน โดยอาจเจียระไนเป็นรูปทรงหรือเหลี่ยมแบบใดก็ได้ยกเว้นเหลี่ยมเกสร เพราะมันไม่วูบวาบพอ และมีขนาดตั้งแต่ 10 กะรัตขึ้นไปก็หาได้ไม่ยาก

  Citrine

ซิทริน (Citrine) เป็นพลอยโปร่งใสสีเหลือง ส้ม และ ส้มอมน้ำตาล สีเกิดจากธาตุเหล็ก (Fe) ซิทรินที่มีในท้องตลาดส่วนใหญ่ได้มาจากการเผาอะเมทิสต์ (Amethyst) จัดอยู่ในกลุ่มของ ควอรตซ์ (Quartz) เป็นแร่ที่มีความหลากหลายในแง่ของการเกิดและชนิดมากที่สุด พบทั้งในหินอัคนี หินตะกอน และหินแปร การที่มีความแข็งเท่ากับ 7 ไม่มีแนวแตกเรียบ และมีเสถียรภาพทางเคมี ไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีทั่วไป จึงเป็นแร่ที่ทนทานต่อการผุกร่อน และทนต่อการทำลายทางเคมีมาก ทำให้ควอรตซ์ยังคงสภาพอยู่ได้ในรูปของกรวดทรายตามตะกอนทางน้ำและชายทะเล
ควอรตซ์ที่เป็นอัญมณี แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลึกหยาบ (Coarsely Crystalline) และกลุ่มที่มีผลึกละเอียด (Crypto crystalline) ทั้ง 2 กลุ่มมีส่วนประกอบทางเคมีและโครงสร้างเหมือนกัน ต่างกันที่การเกิด ขนาดผลึก มลทินที่ทำให้เกิดสี และรูปแบบของสี (pattern) เท่านั้น สำหรับซิทริน จัดอยู่ใน กลุ่มที่มีผลึกหยาบ

 
สีของซิทรินจะคล้ายคลึงกับสีของโทปาซมากจนเกิดการเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆว่าเป็นโทปาซ ถึงขนาดมีการตั้งชื่อให้กับมันเสียใหม่เลยว่า ‘โทปาซ ควอทซ์' ตามธรรมชาติแล้วโทปาซจะมีไม่มากเท่าซิทรินและคุณค่าของมันก็มีมากกว่าซิทรินอีกด้วย โดยเปรียบเทียบ ทั้งโทแพซและซิทรินต่างก็เป็นพลอยที่มีสีเหลืองใสสดเป็นประกายงดงามด้วยกันทั้งคู่ หากแต่โทแพซเป็นพลอยที่มี อันดับสูงกว่าซิทรินและราคาแพงกว่า อย่างไรก็ตามท่านผู้เกิดในเดือนพฤศจิกายน จะเลือกชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นพลอยประจำเดือนเกิด หรือจะเลือกเอาทั้งสองชนิดก็ได้ ปัจจุบันซิทรินเป็นที่นิยมกันมากกว่าโทแพซเพราะแบบหลังหายากและมีราคาแพงกว่า ซิทรินอาจดูคล้ายพลอยอื่นๆที่มีสีคล้ายคลึงกันได้ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ซิทรินก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เช่น ซิทรินจะมีความถ่วงจำเพาะต่ำที่สุดในบรรดาพลอยสีเดียวกัน ยิ่งถ้าเปรียบกับโทปาซแล้ว ค่าความถ่วงเฉพาะของซิทรินจะต่ำกว่าโทปาซอยู่มาก และความวาวก็เป็นรองโทปาซอยู่มากเช่นกัน ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งก็คือ ซิทรินจะไม่มีแนวแตกเรียบเหมือนอย่างโทปาซหรือถ้าจะเปรียบเทียบกับบุษราคัมแล้ว ความวาวของซิทรินก็ยังตกเป็นรองบุษราคัมอยูมากเช่นกัน
เป็นที่น่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่าอะมิทิสต์ที่นำมาหุงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืงหรือน้ำตาลเข้มของซิทรินได้ คุณค่าของมันค่อนข้างต่ำและแน่นอนที่สุดคุณค่าของมันก็ต่ำกว่าอะมิทิสต์ด้วย เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีการผลิตซิทรินปลอมเพื่อเป้าหมายทางการค้าเลย ส่วนใหญ่แล้วจะผลิตใช้เพื่อการอุตสหรรมมากกว่า และแหล่งสำคัญที่สุดของซิทรินก็คือ บราซิล แต่ก็อาจได้มาจากสหรัฐอเมริกา สเปน ฝรั่งเศล สก๊อตแลนด์ และโซเวียต

สมบัติของซิทริน
ความแข็ง  6.5-7 โมห์สเกล
สูตรโมเลกุล SiO2 (Silicon dioxide)
ค่าดัชนีหักเห 1.54-1.55
ความถ่วงจำเพาะ  2.65

อ้างอิง : กรมทรัพยากรธรณี

Posted by NonNY~* on 11/10/2551. Filed under , , , , , , , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

5 comments for "พลอยประจำเดือนเกิด พฤศจิกายน - โทพาซ (Topaz)"

  1. ไม่ระบุชื่อ

    ทำไมบางตำรา มันบอกว่า เป็น บุษฯ หว่า
    สงสัยพลอยสีเหลืองใช่ป่าวคับ
    ตอนแรกจะทำแหวนเดือนเกิดให้แม่ แต่ติด ตรงมันเป็น บุษฯ นี่แหละ เลยพับโครงการไว้ก่อน อย่างงี้ค่อยมีลุ้น
    หน่อย อิอิ


    อดีตนักทำใบเซอร์แห่งชาติ

  2. บางตำราก็ว่า บุษราคัมเป็นอัญมณีประจำเดือนพฤศจิกายน และคนเกิดวันจันทร์ จริงๆแล้วมีอัญมณีหลายชนิดที่สามารถเลือกใช้ได้เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล อาจจะลองศึกษาถึงความหมายของพลอยแต่ละชนิดดู ทั้งนี้เป็นเพียงความเชื่อซึ่งขึ้นกับความชอบส่วนตัวของผู้สวมใส่

    ตามตำรามณีนพเก้า บุษราคัมเป็นพลอยที่เสริมเสน่ห์เป็นที่รัก นำความรื่นเริงมาสู่ผู้สวมใส่ บางตำราก็ว่าเป็นอัญมณีแห่งความซื่อสัตย์

  3. ไม่ระบุชื่อ

    อ่าคับพี่นน เพิ่งรู้ว่า มันตอบคอมเมนต์ได้ หุหุ

    อดีตนักทำใบเซอร์แห่งชาติ

  4. ยังไงคับ ตอบคอมเมนต์ได้ งง...

  5. ตกลงว่าพลอยอะไรก็ได้ที่เป็นสีเหลืองแบบนี้ใช่มั้ยคะ เข้าใจว่าเป็นบุศมาตลอดเลยนะเนี่ย ^^'

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด