Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

พบ "เพชรนาโน" เชื่อโยงทฤษฎีอุกกาบาตชนโลก-เหตุแมมมอธสูญพันธุ์

เพชรนาโนจากกล้องจุลทรรศน์ส่องผ่าน (บีบีซีนิวส์) พบเพชรโบราณเม็ดเล็กๆ ในชั้นดินที่อเมริกาเหนือ นักวิทยาศาสตร์คาดเป็นร่องรอยเชื่อมโยง การปะทะของวัตถุนอกโลก กับการสูญพันธุ์ของแมมมอธและสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่เมื่อ 13,000 ปีก่อน ซึ่งช่วยยืนยันทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งชนโลก

วัตถุตกกระทบจากต่างถิ่น และเพชรขนาดเล็กระดับนาโนเมตร ถูกขุดพบในชั้นดินบางๆ ทั่วอเมริกาเหนือ ในพื้นที่สำรวจวัฒนธรรมโคลวิส (Clovis culture) ของทีมสำรวจที่มีเจมส์ เคนเนตต์ (James Kennett) นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาร์บารา (University of California, Santa Barbara) สหรัฐฯ ร่วมอยู่ด้วย ทั้งนี้กล่าวกันว่าวัฒนธรรมโคลวิส คืออารยธรรมของมนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานในอเมริกาเหนือเมื่อยุคก่อนประวัติศาสตร์

ตามรายงานของบีบีซีนิวส์ ซึ่งอ้างข้อมูลการตีพิมพ์จากวารสารไซน์ (Science) ระบุว่า หลักฐานที่ค้นพบนั้นมีอายุพอๆ กับยุคเริ่มต้นของยุคน้ำแข็งอันยาวนานนับพันปีที่เรียกว่า "ยุคยังเกอร์ดรายแอส" (Younger Dryas) ซึ่งมีอายุย้อนไป 13,000 ปี และข้อมูลทางธรณีวิทยาของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่หลายชนิดหายไปในยุคนี้ และยังเป็นช่วงเวลาของการสิ้นสุดยุควัฒนธรรมโคลวิส ทีมสำรวจที่อยู่เบื้องหลังงานวิจัยนี้ระบุว่า เมื่อรวมข้อมูลทั้งสองยุคเข้าด้วยกัน ทำให้ได้เรื่องราวที่กระตุ้นความสนใจอย่างยิ่ง ทีมสำรวจได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องผ่าน (transmission electron microscopy: TEM) จำแนกเพชรเม็ดเล็กๆ ที่เกิดจากการปะทะของวัตถุนอกโลก ซึ่งพบในบริเวณขุดสำรวจวัฒนธรรมโคลวิสซึ่งกระจายทั่วอเมริกาเหนือ พบว่าเพชรเหล่านั้นเกิดขึ้นภายใต้ความดันและความร้อนที่มีความเข้มสูง
"เราพบเพชรนาโน (nano-diamonds) ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ปกติบนผิวโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากนอกโลกเมื่อ 12,900 ปีก่อน" เคนเนตต์กล่าวกับบีบีซีนิวส์

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานถึงการค้นพบเพชรนาโน 5 ชนิด จากวัตถุที่ตกสู่โลกในบริเวณชั้นดินยุคยังเกอร์ดรายแอส ซึ่งเป็นชั้นตะกอนบางๆ ที่มีอายุ 12,900 ปี ซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่านของทีมสำรวจช่วยยืนยันว่ามีเพชรอยู่มากมายในคาร์บอนทรงกลมเล็กๆ ที่เกิดจากการที่วัตถุละลายและก่อตัวในเสี้ยววินาที และยังช่วยจำแนกเพชรหกเหลี่ยมที่เรียกว่า "ลอนสดาไลท์" (lonsdalite) ซึ่งเป็นเพชรที่มีความสัมพันธ์กับการระเบิดของอุกกาบาต

ด้าน ดร.อัลเลน เวสต์ (Dr.Allen West) นักธรณีวิทยาซึ่งเกษียณแล้วและมีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ด้วยกล่าวว่า จำนวนของเพชรที่พบนั้นมีมากกว่าที่พบในพื้นที่รอบๆ นับล้านเท่า ซึ่งยืนยันว่าไม่ทางที่เพชรจะเข้าไปอยุ่ในคาร์บอนทรงกลมด้วยวิธีอื่นได้อีก ทั้งนี้การไม่พบเศษวัตถุที่พุ่งชนโลกหรือหลุมอุกกาบาตในอเมริกาเหนือ ทำให้นักวิจัยมองว่าอุกกาบาตหรือดาวหางน่าจะระเบิดขึ้นกลางอากาศเสียก่อน

นักวิจัยต่างถกเถียงกันว่า การระเบิดกลางอากาศนั้นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงอุณหภูมิที่หนาวเย็นขึ้นและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของพืช ซึ่งทำให้ยากต่อการดำงชีวิตอยู่ได้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่และผู้ล่าในยุคโคลวิส ซึ่งสาเหตุการดับสลายของวัฒนธรรมโคลวิสเป็นที่ถกเถียงยาวนาน ผู้ที่ยังสงสัยในทฤษฎีอุกกาบาตพุ่งชนโลกจำนวนมาก ยังไม่สามารถเอาชนะหลักฐานล่าสุดที่มีได้ ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นตรงกันว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อ 12,900 ปีก่อน แต่ทฤษฎีเกี่ยวกับอุกกาบาตยังขาดหลักฐานที่น่าสนใจ โดยดัก เคนเนตต์ (Doug Kennett) ลูกชายของ ดร.เคนเนตต์ ซึ่งเป็นนักโบราณคดีทางธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยโอเรกอน (University of Oregon) สหรัฐฯ ระบุว่า สาเหตุการสูญพันธุ์ของแมมมอธ หลักฐานเชื่อมต่อของวัฒนธรรมโคลวิสที่หายไปและการรุกไล่ของความหนาวเย็นยังคงเป็นที่ถกเถียง แต่มีเพียงทฤษฎีอุกกาบาตชนโลกเท่านั้นที่อธิบายเหตุการณ์ทั้งสามได้ทั้งหมด

ทางด้าน ดร.เคนเนตต์เสนอว่าคาร์บอนได้หลอมเพชรด้วยความเข้มสูงในการระเบิดกลางอากาศ แต่ ดร.พินเทอร์กล่าวว่า เพชรนาโนที่พบในที่ตั้ง และช่วงเวลาอื่นนั้น ได้รับการพิสูจน์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับการพุ่งชนของอุกกาบาตใดๆ และการสรุปว่าเพชรนาโนดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการระเบิดกลางอากาศนั้นเป็นสิ่งที่ "ไม่ได้รับการพิสูจน์และเชื่อได้ยากยิ่ง"

ชั้นตะกอนในเมอร์เรย์สปริงส์ที่พบเพชรนาโน (บีบีซีนิวส์) ทฤษฎีอุกกาบาตชนโลกสนับสนุนว่า เพชรนาโนมีจำนวนสูงสุดในชั้นที่เกิดการชน โดยชั้นเพชรนาโนที่หนาประมาณหัวแม่มือปรากฏอยู่ในไม่กี่พื้นที่ของอเมริกาเหนือ ซึ่งพบในพื้นที่ของเมอร์เรย์สปริงส์ (Murray Springs) ในมลรัฐแอริโซนา และแชนแนลไอส์แลนด์ (Channel Islands) ของชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตะวันตกด้วย โดยชั้นตะกอนที่มีเพชรนาโนนั้นอยู่ใต้ชั้นพรมสีดำของชีวมวลที่เกิดขึ้นในยุคยังเกอร์ดรายแอส
เคนเนตต์ผู้ลูกกล่าวว่า เกือบล่างสุดของชั้นตะกอนมีถ่านและเขม่าอยู่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเชื่อมโยงกับไฟไหม้จากการพุ่งชน และไม่ปรากฏกระดูกของสัตว์ขนาดใหญ่ในช่วงเวลาดังกล่าวหรือแม้แต่สิ่งประดิษฐ์ฝีมือมนุษย์เหนือชั้นที่ถูกหรือแม้แต่เหนือชั้นชีวมวลที่ทับถมกัน และก่อนที่ทุกอย่างจะหายไป แมมมอธขนยาวและสัตว์ขนาดใหญ่อื่นๆ อาทิ เสือเขี้ยวดาบ สลอธยักษ์ อูฐและเทราทอร์น (teratorn) นกนักล่าที่มีปีกกว้างเกือบ 4 เมตร ก็ได้อพยพสู่อเมริกาเหนือ ทั้งนี้ดัก เคนเนตต์มีความสงสัยต่อทฤษฎีที่ใช้อธิบายการสูญพันธุ์ของสัตว์เหล่านั้น ทั้งการล่าเกินขนาด ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และโรคระบาด และยกตัวอย่างไม่มีทุ่งสังหารในยุควัฒนธรรมโคลวิสมากพอที่จะบ่งชี้ถึงการที่สัตว์ถูกล่าเกินขนาด

อย่างไรก็ดี ดร.นิโคลัส พินเทอร์ (Dr.Nicholas Pinter) นักธรณีวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาธ์เทิร์นอิลลินอยส์ (Southern Illinois University) สหรัฐฯ ได้ไปดูหลักฐานการชนของอุกกาบาต และกล่าวว่าชั้นของวัตถุที่แยกกันอย่างชัดเจนนั้นไม่ได้อยู่ในยุคเดียวกัน และวัตถุทรงกลมที่เรียกว่า "ไมโครสเฟียรูลส์" (Microspherules) นั้นก็ตกสู่โลกตลอดเวลา อีกทั้งยังมีปรากฏในข้อมูลทางธรณีวิทยา "ลูกศิษย์ในที่ปรึกษาของผมก็พบมันในกล่องจดหมาย" ดร.พินเทอร์กล่าว

ข้อมูลจาก ผู้จัดการ

Posted by NonNY~* on 1/05/2552. Filed under , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

0 comments for "พบ "เพชรนาโน" เชื่อโยงทฤษฎีอุกกาบาตชนโลก-เหตุแมมมอธสูญพันธุ์"

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด