Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

เครื่องประดับกับตลาดสูงวัย

ในขณะที่ธุรกิจส่วนใหญ่ ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับมุ่งความสนใจไปยังตลาดคนหนุ่มสาวที่เน้นแฟชั่น แต่ก็มีบางรายที่ประสบความสำเร็จในการเจาะตลาดเฉพาะสำหรับผู้หญิงมีอายุและมีรสนิยมดีที่ซื้อเครื่องประดับให้กับตนเอง โดยมองว่าคนกลุ่มนี้ไม่ได้ตามกระแสแฟชั่น แต่กำลังมองหาสิ่งที่แตกต่าง โดยเฉพาะจากเครื่องประดับและเครื่องตกแต่งร่างกาย

แบรนด์จำนวนมากในตลาดปัจจุบัน เป็นแบรนด์สำหรับผู้บริโภคตั้งแต่อายุ 20–30ปี และปรัชญาก็คือ เครื่องประดับเหล่านี้เป็นเครื่องประดับสำหรับคนหนุ่มสาว และ “คนที่มีใจเป็นหนุ่มสาว” หลายรายใช้หลักการพลิกกลับจากระดับล่างวิ่งขึ้นระดับบน ด้วยแนวคิดที่ว่าผู้หญิงมีอายุที่รักความทันสมัยจะชอบใส่เครื่องประดับที่ผู้หญิงอายุน้อยกว่าชอบใส่กัน “สินค้ากลุ่มนี้ช่วยให้ผู้หญิงมีอายุรู้สึกว่าตัวเองเด็กลงและมีเสน่ห์มากขึ้น แล้วก็มีปัจจัยการประสบความสำเร็จสูงในผู้ซื้อกลุ่มนี้”

การเจาะตลาดสู่กลุ่มผู้บริโภค

กลุ่มที่ให้ความสนใจกับหลักการดังกล่าว คือ บริษัทนาฬิกาข้อมือ Swatch ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นรายแรกๆ ที่ขยายไลน์สินค้ามาสู่ตลาดเครื่องประดับ และมุ่งเป้าหมายไปยังลูกค้าหนุ่มสาวที่ชื่นชอบแฟชั่นและซื้อสินค้าให้ตนเอง แม้ว่าแบรนด์ “หนุ่มสาว” เหล่านี้จะพบเห็นได้มากมายในตลาด แต่ผู้ผลิตและผู้สนับสนุนก็เริ่มตระหนักมากขึ้นว่าคนอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นลูกค้ากลุ่มสำคัญที่ควรมุ่งเป้าหมายโดยเฉพาะ ซึ่งจากการสำรวจตลาดในปัจจุบัน ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป มีรายได้ส่วนเกินสูงสุด และใช้เงินรายได้กว่าครึ่งเพื่อซื้อสินค้าให้ตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อน หรือสินค้าแฟชั่น

นักคาดการณ์ด้านเศรษฐกิจ และพยากรณ์แนวโน้ม กล่าวว่า ผู้บริโภคกลุ่มนี้ ซึ่งได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นกลุ่มที่เงินเหรียญสหรัฐ “กลายเป็นสีเทา” นั้น กำลังมองหาสินค้าที่มีเอกลักษณ์และมักไม่ตามกระแส แต่จะชอบซื้อเสื้อผ้า เครื่องประดับ และสินค้าแฟชั่นที่บ่งบอกถึงบุคลิกภาพของตนเอง

นอกจากนี้ แนวคิดเรื่องเครื่องประดับสำหรับคุณแม่และลูกสาวที่เป็นผู้ใหญ่ แล้วก็เป็นที่สนใจของผู้ผลิตเครื่องประดับเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Link of London ในสหราชอาณาจักรก็มีแหวน Amitie สำหรับแม่กับลูกสาว โดยทำจากเงินและทอง ประดับด้วยอัญมณี เช่น อะเมทิสต์ โรโดไลต์ โกเมน หรือแทนซาไนต์

ในประเทศจีนเอง ก็มีแบรนด์บางแบรนด์เริ่มค้นพบว่า กลุ่มผู้บริโภคมีอายุที่ซื้อสินค้าให้ตนเองทำกำไรให้มากเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น Chinared Jewelry แบรนด์จาก Chinared Jewelry Co.,Ltd. ในเสินเจิ้น ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ PAJ Inc ในสหรัฐ

เครื่องประดับของบริษัทนี้ จึงได้มุ่งเป้าหมายไปยังผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 25-60 ปี และผู้บริหารบริษัทกล่าวว่า “แม้ว่าทองและเพชรจะเป็นเครื่องประดับขายดีในจีน แต่ความต้องการเครื่องประดับเงินก็กำลังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้หญิงมีอายุที่ชอบเปลี่ยนเครื่องประดับอยู่เรื่อยๆ และชอบซื้อเครื่องประดับเงินเพราะราคาไม่สูงนัก นอกจากนี้ผู้ซื้อยังสามารถใส่เครื่องประดับเงินในตอนกลางวันหรือกลางคืนก็ได้”

บริษัทนี้จึงได้นำเสนอว่า เป็นแบรนด์เครื่องประดับจากวัฒนธรรมจีน เพื่อมุ่งเป้าหมายที่จะโฆษณาเครื่องประดับอันทันสมัยพร้อมแสดงถึงจิตวิญญาณของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ด้วยเชื่อว่าเป็นเรื่องค่อนข้างง่าย ที่จะขายเครื่องประดับประเภทนี้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในตลาด

เครื่องประดับขายดีในจีนอาศัยพื้นฐานจากความเป็นจีน อันได้แก่ ตัวอักษรภาษาจีนประดับด้วยอัญมณีและชิ้นส่วนทำด้วยเงิน ซึ่งรวมกันเป็นอักษรที่แสดงถึงความปรารถนาดี หรือเป็นสัญลักษณ์ของความสุข หรือโชคลาภ รวมไปถึงวัตถุสิ่งของที่ใช้กันในชีวิตประจำวันของชาวจีน เช่น ตราประดับแบบจีนที่ได้รับการออกแบบให้ใส่เป็นจี้ เครื่องประดับทั้งหมดประดับด้วยพลอยโมราสีแดงหรือดำ หรือผสมกันทั้งสองสี “โมราเป็นพลอยที่ได้รับความนิยมในจีน และสีแดงก็ดึงดูดลูกค้าได้ในวงกว้าง”

นอกจากนี้ แบรนด์จากนักออกแบบหลายแบรนด์ก็ประสบความสำเร็จ จากการเจาะกลุ่มเป้าหมายนี้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในฝรั่งเศสนักออกแบบ Virginie Carpentier กำลังผลิตชุดเครื่องประดับด้วยแนวทางที่เน้นความลึกลับทางจิตวิญญาณ ซึ่งดึงดูดผู้หญิงมีอายุได้ดีเป็นพิเศษ

เธอกล่าวว่า เครื่องประดับของเธอส่วนใหญ่ดึงดูดผู้หญิงมีอายุ แต่เธอก็ดัดแปลงให้เหมาะกับสาวๆ ด้วย “ตัวอย่างเช่น ในกรณีของจี้ขายดีในชุด Mr.Butterfly ผู้หญิงมีอายุจะซื้อจี้ประดับด้วยโอนิกซ์ พร้อมด้วยสร้อยคอโอเมกาเงินให้เข้ากับสร้อยคอไข่มุกแบบดั้งเดิมที่เธอมีอยู่ เพื่อปรับภาพลักษณ์ให้ดูทันสมัยขึ้น ในขณะที่หญิงสาวจะเลือกรูปผีเสื้อที่ทำจากเทอร์คอยส์ พร้อมกับสร้อยคอที่ทำจากเกลียวฝ้ายถัก”

ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายมักไม่อยู่ในกลุ่มอายุใดเพียงกลุ่มหนึ่ง แต่โดยทั่วไปแล้วเป็นผู้มีความรู้ที่เข้าใจถึงคุณภาพ และต้องการเครื่องประดับที่สวยงามทันสมัย แต่สามารถใส่ได้นาน เธอใช้อัญมณีแท้หลายชนิดในการออกแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโมรา อะเมทิสต์ เทอร์คอยส์ โอนิกซ์ และพลอยตาเสือ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ แบรนด์แนวหน้าอย่าง Kmipperในญี่ปุ่น ซึ่งได้ค้นพบตลาดเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคมีอายุ ผู้ร่วมก่อตั้งและนักออกแบบ Kazuyuki Inomaki กล่าวว่าทางแบรนด์ได้ผลิตเครื่องประดับที่มีเอกลักษณ์ ด้วยแนวทางการออกแบบอันทรงพลังซึ่งสามารถดึงดูดผู้บริโภคที่มีอายุ และเข้าใจเรื่องการสร้างสรรค์ได้

“ผู้ซื้อโดยทั่วไปมีอายุมากกว่า 30 ปี และอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงรายได้สูง” เขากล่าว

ข้อมูลและภาพประกอบ โพสทูเดย์

Posted by NonNY~* on 5/14/2552. Filed under , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

0 comments for "เครื่องประดับกับตลาดสูงวัย"

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด