Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

Thai Jewelry Designers : เส้นทางสู่สากลของ GAVANG

กุลธิรัตน์ มีสายญาติจิวเวลรี่แนวดีไซน์ “Gavang” ขายดีในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก กระทั่งเสียงยอมรับของผู้คร่ำหวอดในวงการออกแบบด้วยกันว่าเป็น “งานเครื่องประดับที่สวยที่สุดในเมืองไทยวันนี้” เพราะคว้ารางวัลออกแบบบนเวทีสากลอย่างต่อเนื่อง นี่คือเส้นทางแบรนด์ Gavang ของ กุลธิรัตน์ มีสายญาติ Manager Director & Design Director ผู้สร้างทางเดินให้ Gavang ตอบโจทย์งานจิวเวลรี่กลุ่มไฮเอ็นด์ได้อย่างงดงาม

แม้เธอจะพกดีกรีสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แต่ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของงานออกแบบในแบรนด์ของตนเองตั้งแต่เริ่มแรก หากแต่สั่งสมประสบการณ์งานออกแบบหลายๆ ด้านให้กับบริษัทเอกชนหลายแห่งและผันตัวเองมาเป็นนักออกแบบอิสระให้กับสินค้าแฟชั่นแบรนด์นำเข้าจากต่างประเทศราว 10 ปี

ทั้งหมดกลั่นเป็นประสบการณ์และมุมมองด้านงานออกแบบแฟชั่นให้กุลธิรัตน์คิดอยากสร้างจิวเวลรี่ในสไตล์ของตวเองที่เน้นความเรียบเท่ โก้เก๋ แบบมีบุคคลิกเฉพาะตัว ใช้เงินและโลหะเป็นตัวเอกของงาน มุ่งจับกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้หญิงอายุ 25 ปีขึ้นไปที่มีรสนิยมการใช้ชีวิต มีกำลังซื้อสูง โดยกุลธิรัตน์เลือกที่มาของชื่อแบรนด์ Gavang จากชื่อผลไม้จำพวก “มะปราง” ที่หมายถึงเมล็ดพันธุ์และดอกผลที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของเมืองไทยและออกเสียงง่ายในภาษาสากล

 

ภาพจาก Nation Group และด้วยความที่วางตลาดเป้าหมายไว้ที่กลุ่มไฮเอ็นด์ ทำให้กุลธิรัตน์ต้องมุ่งเน้นสู่การสร้างแบรนด์ในตลาดต่างประเทศที่มีกำลังซื้อสูง โดยมองว่าการนำเสนอผลงานผ่านหน้าต่างของงาน BIG+BIH น่าจะเป็นเส้นทางเริ่มต้นของ SME ที่ไม่เลวทีเดียว
“เริ่มคิดอยากสร้างแบรนด์ช่วยปลายปี 2546 แล้วมาเปิดตัวในงาน BIG+BIH ปี 2548 ออกคอลเลคชั่นแรกทั้งหมดประมาณ 20 คอลเล็กชั่น มีงานอื่นอย่างกระเป๋าและงานแอสเซสเซอรี่เกี่ยวกับแฟชั่นรวมอยู่ด้วยเป็นไลฟ์สไตล์ช็อป เพื่อลองตลาดว่ามีเสียงตอบรับกับอะไรดีกว่ากัน ซึ่งงานเครื่องประดับก็ตรงใจลูกค้าที่สุด และเมื่อพิจารณาในแง่ของการแข่งขันแล้วงานเครื่องประดับมีต้นทุนและจำนวนคู่แข่งที่น้อยที่สุด” เธอเล่าถึงแผนการทำงานในวันเริ่มต้นของ Gavang

เมื่อความชัดเจนจากการโยนหินถามทางปรากฏ จึงทำให้งานออกแบบของ Gavang ที่วางตัวตนชัดเจนในคอนเซ็ปต์เรียบเท่ โก้เก๋ จับกลุ่มเป้าหมายลูกค้ากลุ่มไฮเอ็นด์ได้อยู่หมัด เป็นเท่ากับเป็นการสร้าง Niche Market ส่วนตัวที่มีผู้เล่นน้อยและกำลังซื้อสูง ทำให้การแข่งขันวันนี้มีเพียงการวิ่งหนีตัวเองเพื่อรักษาความโดดเด่นที่แตกต่างในตลาดไว้ให้ได้เท่านั้น และแน่นอนว่า Niche Market ที่กุลธิรัตน์เลือกให้แบรนด์ Gavang หมายถึงตลาดต่างประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้นนอกจากการเข้าร่วมแสดงผลงานในงาน BIG+BIH เป็นการเปิดตัวแล้วยังมีงาน Bangkok Gem & Jewelry Fair ที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีก็เป็นหน้าต่างที่เธอเลือกเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ๆ ทุกครั้ง และจากเสียงตอบรับที่ดีมากของ Buyer ทำให้แบรนด์ Gavang ถูกสั่งซื้อเพื่อนำเข้าไปจำหน่ายใน 20 ประเทศทั่วโลก และล่าสุดเพื่อให้สามารถเข้าถึงใจผู้สวมใส่อย่างแท้จริง กุลธิรัตน์จึงตัดสินใจเดินทางเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฝรั่งเศสเมื่อเดือนกันยายน 2551 ที่ผ่านมาเป็นครั้งแรก

 

gavang

“APartOf” Silver Ornament by GAVANG
เครื่องประดับที่มีแรงบันดาลใจจากความห่วงใยธรรมชาติที่ถูกคุกคาม และความอุดมสมบูรณ์บนผืนแผ่นดินที่กำลังลดน้อยลง ผ่านการ ลดทอนรายละเอียด ให้เหลือแก่นแท้และลักษณะเฉพาะที่เรียบ ร่วมสมัยและมีพลัง เส้นสายของแหวนแต่ละวงที่เชื่อมต่อกัน หมายถึง ความร่วมมือในการสร้างความสมบูรณ์ให้ใบไม้อีกครั้งหนึ่ง รูปแบบการประกอบชิ้นงาน เป็นสื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ อย่างสร้างสรรค์ ร่วมกันสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ และการดูแลให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
(www.demarkaward.net)

 



ยังผลให้แบรนด์ Gavang ได้พบกับลูกค้า Retail โดยตรง ซึ่งแตกต่างจาก Buyer ทั่วไปที่พบในงานแสดงสินค้าในเมืองไทยที่ทำหน้าที่เพียงคนกลางนำผลงาน Gavang ไปจำหน่ายปลีกอีกทอดหนึ่ง ซึ่งการได้สัมผัสกับผู้สวมใส่จริง ทำให้กุลธิรัตน์ได้รับทราบความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานการออกแบบที่สามารถนำมาปรับใช้ในการสร้างผลงานให้ตรงใจผู้ซื้อมากขึ้น รวมถึงได้ข้อมูลถึงทิศทางการตลาดที่น่าสนใจว่ากลุ่มเป้าหมายที่วางไว้แทบไม่ได้รับกระทบสักนิดจากวิกฤติเศรษฐกิจในขณะนี้
“Gavang ไม่ได้ดีไซน์งานออกมาตามเทรนด์แฟชั่น แต่เน้นจุดแข็งในความเรียบเท่ โก้เก๋ แต่มีการปรับเพิ่มฟังก์ชั่นและเลือกใช้วัตถุดิบให้หลากหลายขึ้นจากเดิมที่เราเริ่มที่งานเครื่องเงินก็นำทองเข้ามาใช้บ้าง ใส่ลูกเล่นให้มากขึ้นในขณะเดียวกันก็นำความต้องการของลูกค้ามาปรับให้แง่ของการตลาดไปด้วย อย่านเมื่อก่อนงานของเราจะชิ้นใหญ่กว่างานนี้มาก แต่เมื่อไปทำตลาดในต่างประเทศได้รับทราบจากลูกค้าว่าชอบรูปแบบนี้แต่อยากให้ชิ้นงานเล็กลงก็ทำให้แต่ไม่ทิ้งความมีเอกลักษณ์ของเราไป”

ภาพจาก www.iwisdom.co.th


กุลธิรัตน์ กล่าวว่า นักออกแบบมีความเป็นปัจเจกสูง แต่เมื่อทำธุรกิจโจทย์การตลาดเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน การออกแบบดีไซน์ชิ้นงานต้องขายได้ แต่ก็ไม่ใช่งานที่ตอบสนองตลาดอย่างเดียวโดยปฏิเสธตัวตนของเรา เพราะฉะนั้นประสบการณ์จะเป็นครูที่ดีที่สุด ทำให้รู้สึกดีใจที่งานของ Gavang เป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ นักออกแบบรุ่นใหม่หลายคน ซึ่งต้องบอกว่าเส้นทางสายนี้มาจากประสบการณ์และมุมมองหลายๆ ด้าน ซึ่งวันนี้นักออกแบบรุ่นใหม่หลายคนต้องการสร้างแบรนด์ของตัวเองโดยมองว่าการได้รับรางวัลสามารถสร้างแบรนด์ได้ ณ จุดเริ่มต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ในการสร้างแบรนด์ต้องใช้องค์ประกอบหลายด้านร่วมด้วยเพราะตลาดจะเป็นผู้ตัดสินว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือไม่
“ชอบนะที่มีคนวิจารณ์งานของเรา เพราะนั่นคือสิ่งที่ต้องปรับใช้ในการดีไซน์ สิ่งที่งลูกค้าบอกต้องรับฟังและนำมาปรับปรุงเพราะลูกค้าคือคนที่ซื้องานเราไปใช้ ซึ่งการทำงานของดีไซน์เนอร์เมื่อมาเป็นนักธุรกิจจะคิดแตกต่างจากตลาด แต่ในความต่างนั้นต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุด ที่สำคัญต้องโฟกัสลูกค้าของตัวเองให้ชัดอย่าหลงทางเพื่อคุณจะไม่สูญเสียตัวตนและตลาดไปในที่สุด”

ภาพจาก Nation Group นั่นจึงทำให้เห็นได้ชัดจนว่าการลุกขึ้นมาสร้างแบรนด์ของดีไซน์เนอร์ ไม่ใช่เพียงแค่มีคอนเซ็ปต์แต่ต้องผสมผสานกันอย่างลงตัวระหว่างศาสตร์ของงานออกแบบและศิลป์ของการมองตลาดเพื่อสร้างที่ยืนของแบรนด์ให้เข้มแข็ง โดยกุลธิรัตน์ย้ำว่าดีไซน์เนอร์ที่เป็นนักธุรกิจต้องเปิดใจให้กว้างสำหรับคำวิจารณ์ในชิ้นงานเพื่อเปิดรับความต้องการของตลาดภายใต้คอนเซ็ปต์ที่ชัดเจนของตัวเอง

ทั้งนี้ การได้รับรางวัลนักออกแบบแห่งปี 2550 สาขาเครื่องประดับโดยมหาวิทยาลัยศิลปากร, รางวัล Prime Minister’s Export Award ในคอนเซ็ปต์แนวอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรางวัล Good Design Award 2008 โดย Japan Industrial Design Promotion Organization (JIDPO) คงยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า Gavang เป็นที่ยอมรับในด้านการออกแบบเพียงใด และการที่ได้รับความสนใจนำเข้าไปจำหน่ายแล้วกว่า 20 ประเทศทั่วโลก พร้อมๆ กับการออกแบบชิ้นงานได้หลากหลายมากกว่า 20 คอลเล็คชั่นต่อปี ดูเหมือนเป้าหมายการสร้าง Gavang ให้ขยายเข้าไปสร้างแบรนด์ในตลาดต่างประเทศอย่างต่อเนื่องคงไม่ใช่งานยากเกินไปสำหรับกุลธิรัตน์

ข้อมูล www.iwisdom.co.th
ภาพประกอบ www.iwisdom.co.th / Nation Group

Posted by NonNY~* on 9/05/2552. Filed under , , , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

0 comments for "Thai Jewelry Designers : เส้นทางสู่สากลของ GAVANG"

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด