Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

ตลาดสินค้าเครื่องประดับในฝรั่งเศส

 image from cgi.ebay.com.my ฝรั่งเศสถือเป็นประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับอันดับสามของสหภาพยุโรปรองจากอิตาลีและอังกฤษ โดยมีศูนย์กลางการผลิตและออกแบบอยู่ที่กรุงปารีสและเมืองลิยง (Lyon) ทั้งนี้ผู้ผลิตแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ ผู้ผลิตรายเล็กที่มีความชำนาญเฉพาะด้านและมีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ หรือผู้ผลิตรายใหญ่ (จากการควบรวมกิจการ) ที่สามารถผลิตในปริมาณมาก เพื่อป้อนให้กับผู้ผลิตรายเล็กอีกทอดหนึ่ง

ปัจจุบันผู้ผลิตหันมาเพิ่มประเภทสินค้าเนื่องจากได้วัตถุดิบใหม่ๆ จากคู่ค้าชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่งผลให้การแข่งขันในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จนกระทั่งผู้ผลิตจำนวนไม่น้อยในฝรั่งเศสต้องปิดตัวไป นอกจากนี้ผู้ผลิตฝรั่งเศสยังจ้างผลิตในบางส่วน โดยเฉพาะบริษัทในเอเชียเพื่อลดต้นทุน

  • สินค้าเครื่องประดับหลัก
    ตลาดเครื่องประดับฝรั่งเศสถือว่าค่อนข้างอยู่ตัว แต่กระแสความนิยมต่างไปตามประเภทของเครื่องประดับ 
    ทอง
    เครื่องประดับประเภททองรูปพรรณได้รับผลกระทบจากราคาทองที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งส่งผลกระทบถึงอำนาจการซื้อของผู้บริโภค ส่วนเครื่องทองประดับพลอยยังไม่เป็นที่นิยมนัก
    นอกจากนี้ เครื่องประดับประเภททองยังได้รับผลกระทบจาก
             -  การซื้อทองเพื่อการลงทุนที่ลดลง
             -  ผู้บริโภครุ่นใหม่หันไปเลือกซื้อสินค้าอื่นเพื่อเป็นของขวัญ แทนเครื่องประดับทองที่มีราคาแพง
    อย่างไรก็ตาม สมาคมเครื่องประดับฝรั่งเศสออกมาตรการส่งเสริมการขายอย่างได้ผล ซึ่งรวมถึงกระตุ้นกลุ่มลูกค้าผู้หญิงให้ซื้อเครื่องประดับนอกเหนือจากโอกาสพิเศษ และแนวโน้มที่หันกลับมานิยมความหรูหรา โรแมนติก หรือของเก่า ก็ช่วยกระตุ้นการซื้อเครื่องประดับเช่นกัน
    thisisthefirstfloor.blogspot.com เงิน
    เครื่องประดับเงินมีแนวโน้มที่ดีมาโดยตลอด โดยเฉพาะความนิยมในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่ เนื่องจากสามารถออกแบบให้เข้าได้กับผู้บริโภคทุกประเภท รวมทั้งมีให้เลือกในระดับราคาที่หลากหลาย ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยอื่นช่วยหนุนตลาดด้วย ได้แก่
             -  สามารถวางจำหน่ายได้ในร้านค้าหลายประเภท
             -  ความนิยมในการประดับตามส่วนต่างๆ ของร่ายกาย (ห่วงจมูก เจาะสะดือ หรือส่วนอื่นๆ)
             -  ความนิยมเครื่องประดับรูปแบบตะวันออก (ประเภทเครื่องรางต่างๆ) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องเงิน
             -  เพศชายให้ความนิยมเครื่องประดับเงิน
             -  ความนิยมให้เป็นของขวัญในโอกาศพิเศษ
             ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ออกแบบจึงหันมาเน้นตลาดเครื่องประดับเงิน ขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็เริ่มให้ความ สำคัญกับตราสินค้า เช่นเดียวกับรูปแบบและการออกแบบ มากกว่าราคา
    Costume jewelry 
    ฝรั่งเศสเคยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปด้าน Costume jewelry แต่ปัจจุบันได้รับความนิยมลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากการแข่งขันจากจีนและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตาม ตลาดนี้ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ จากปัจจัยเหล่านี้
             -  รูปแบบของ costume jewelry เข้ากันได้ดีกับโอกาสลำลอง
             -  ผู้หญิงรุ่นใหม่ที่นิยมแฟชั่นและวัยรุ่นนิยมซื้อเครื่องประดับราคาไม่สูงนัก
             -  ราคาที่ไม่สูงนักของ costume jewelry สามารถตอบสนองกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
             -  ห้างสรรพสินค้าและร้านค้านิยมจำหน่ายเครื่องประดับประเภทนี้เนื่องจากสามารถทำกำไรส่วนต่างได้มากกว่าเครื่องประดับประเภทอื่น
             -  กลุ่มผู้บริโภคขยายไปยังกลุ่มวัยรุ่นและเด็กซึ่งต้องการเลือกซื้อด้วยตัวเอง
             -  costume jewelry ตลาดบน เริ่มกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง
    จะเห็นได้ว่าเครื่องประดับประเภทนี้ น่าจะมีแนวโน้มดีในกลุ่มตลาดล่างราคาไม่สูง และตลาดบนที่เน้นการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์
  • ลักษณะและความนิยมของผู้บริโภค
    http://imworld.aufeminin.com เครื่องประดับยังเป็นสินค้าที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของขวัญในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน วันเกิด หรือคริสมาสต์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มาตรการส่งเสริมการขายรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะโฆษณา ทำให้การซื้อเครื่องประดับในกลุ่มผู้หญิงกลายเป็นซื้อเพื่อตัวเองมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันร้อยละ 25-30 ของการซื้อเครื่องประดับ เป็นการซื้อให้ตัวเอง ซึ่งหมายความว่าผู้หญิงเหล่านี้เป็นผู้ไปเลือกซื้อเองที่ร้าน ทำให้ผู้ผลิตเครื่องประดับหันมาให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น

    การซื้อเครื่องประดับเพื่อการลงทุนมีแนวโน้มชะลอตัวลง แม้ว่าในด้านมูลค่าสินค้าที่ไม่เคยตก น่าจะเป็นปัจจัยหนุนก็ตาม

    โดยทั่วไป ผู้บริโภคนิยมเครื่องประดับและอัญมณีขนาดเล็ก เช่น ผู้หญิงนิยมสวมแหวนหลายวงในนิ้วเดียวกัน มากกว่าที่จะสวมวงใหญ่เด่นๆ เพียงวงเดียว ทั้งนี้เนื่องจากชาวฝรั่งเศสไม่นิยมใช้เครื่องประดับเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะ แต่เพื่อเสริมบุคลิกหรือบ่งบอกถึงตัวตนของผู้สวม
  • เครือข่ายการจัดจำหน่าย 
     
    ทั้งที่ตลาดมีแนวโน้มชะลอตัว แต่บรรดาร้านที่มีชื่อเสียงเก่าแก่ยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดเอาไว้ได้ โดยเฉพาะเครื่องประดับประเภททอง (เกือบร้อยละ 50) ขณะที่เครื่องประดับเงินมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 30 ส่วนกลุ่มร้านเครื่องประดับในห้างสรรพสินค้าเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 15 ในช่วงปีล่าสุด) ตัวอย่างเช่น ร้าน Manège à Bijoux ของกลุ่มเครือข่ายค้าปลีกขนาดใหญ่ E. Leclerc ที่กลายมาเป็นนายหน้าจัดจำหน่ายเครื่องประดับทองในฝรั่งเศสด้วย ด้านส่วนแบ่งของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และกลุ่มห้างค้าปลีกอื่นๆ ยังอยู่ในระดับคงที่ (ไม่ถึงร้อยละ 15 สำหรับเครื่องประดับทอง และกว่าร้อยละ 30 สำหรับเครื่องประดับเงิน)

    http://picnicb.ciao.com http://media.vioo.com

    ขณะเดียวกัน ร้านจำหน่ายอื่นๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้ารายใหญ่ๆ หรือการสั่งซื้อทางไปรษณีย์  เป็นต้น มีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างคงที่เช่นกัน คือประมาณร้อยละ 8 สำหรับเครื่องประดับทอง และร้อยละ 25-30 สำหรับเครื่องประดับเงิน ด้านผู้ผลิตเครื่องประดับหลายรายหันมาเปิดร้านของตนเองเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ผู้บริโภคแล้ว หลังจากที่ตลาดเริ่มหันกลับไปนิยม Costume jewelry ร้านค้าจำหน่ายเครื่องประดับก็ขยายตัวตามไปด้วย ทั้งในแง่จำนวนและความหลากหลาย เนื่องจากเป็นสินค้าประเภทที่ทำกำไรได้มากกว่าเครื่องประดับประเภทอื่น ผู้ผลิตสินค้าประเภทอื่น เช่น เสื้อผ้า จึงหันมาผลิตและจำหน่ายสินค้านี้มากขึ้น โดยถือเครื่องเสริมการแต่งกาย

    ทั้งนี้ส่วนหนึ่งของตลาดเครื่องประดับในฝรั่งเศสมาจากสินค้านำเข้า(ที่ไม่มีตราสินค้าของตัวเอง) ผ่านเครือข่ายผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง หรือนายหน้า ซึ่งผู้นำเข้าเหล่านี้มีทั้งที่ขายตรงให้กับร้านจำหน่ายปลีกที่มาเลือกซื้อที่สำนักงาน หรือขายให้กับร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ผ่านตัวแทนติดต่อของตนเอง ที่สำคัญการขายและจัดส่งสินค้าต้องมีเป็นไปตามกำหนดแน่นอน เนื่องจากร้านค้าปลีกมักจะสั่งสินค้าต่อเนื่องตลอดปี ไม่ใช่เฉพาะช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาวตามการออกคอลเล็กชันเสื้อผ้าเท่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจจะเสียลูกค้าได้ แม้ว่าคุณภาพสินค้าและราคาจะดีแค่ไหนก็ตาม
  • ประเทศคู่ค้ารายสำคัญ
    อิตาลียังคงเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ แม้ว่าส่วนแบ่งตลาดจะค่อยๆ ลงลงในเครื่องประดับทุกกลุ่มประเภท ส่วนประเทศสหภาพยุโรปอื่นๆ ยังรักษาตำแหน่งทางการตลาดที่ดีในฝรั่งเศส เมื่อเทียบกับผู้ผลิตเครื่องประดับต้นทุนต่ำรายอื่น เช่น คู่ค้าจากเอเชีย อย่างไรก็ดี ตัวเลขการนำเข้าเครื่องประดับทองจากอังกฤษสู่ฝรั่งเศสที่เพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นผลจากวิธีการคำนวนสถิติการค้า

    ด้านผู้ผลิตชาติเอเชียโดยรวมมีส่วนแบ่งในตลาดฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น ด้วยรูปแบบสินค้าที่แตกต่างไปจากประเทศกลุ่มอื่นๆ แต่ในส่วนของประเทศจีนเริ่มประสบปัญหาด้านคุณภาพสินค้าและการลอกเลียนแบบ อย่างไรก็ตาม ผู้นำเข้าฝรั่งเศสสามารถหาแหล่งผลิตที่ได้คุณภาพ ซึ่งน่าจะทำให้เครื่องประดับจากจีนกลับมาเติบโตในตลาดฝรั่งเศสได้ต่อไป ส่วนผู้ผลิตที่ส่งสินค้าเข้าสู่ฝรั่งเศสรายใหม่ๆ ได้แก่ อินเดีย เวียตนาม และฟิลิปปินส์ (ประเภท costume jewelry) ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำ

    สำหรับประเทศไทยไม่สามารถรักษาตำแหน่งผู้นำตลาดเครื่องประดับทองคำในตลาดฝรั่งเศสเอาไว้ได้ โดยประสบปัญหาเช่นเดียวกับประเทศจีน (แต่ส่วนใหญ่ไทยประสบปัญหาสินค้าราคาสูงมากกว่าสินค้าไม่ได้คุณภาพ) แต่ผู้ผลิตฝรั่งเศสรายใหญ่ที่มาลงทุนโรงงานผลิตในประเทศไทยเริ่มเพิ่มปริมาณนำเข้าเครื่องประดับทองจากไทยอีกครั้ง ปัจจุบันการนำเข้าจากประเทศไทยกระจุกตัวอยู่ในมือของผู้ผลิตไทยไม่กี่ราย โดยเฉพาะผู้ผลิตตัวแทนของฝรั่งเศส และกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการเข้าสู่ตลาดของผู้ผลิตไทยรายอื่น โดยเฉพาะในแง่ความเชื่อถือต่อคุณภาพสินค้าและความน่าเชื่อถือของตัวผู้ผลิตเอง แต่ในกลุ่มเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับมีค่าชนิดอื่น ผู้ผลิตไทยค่อนข้างประสบความสำเร็จในตลาดฝรั่งเศส  ขณะเดียวกัน costume jewelry ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับไทย จากแนวโน้มความนิยมรูปแบบสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์
  • โอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทย
    ไทยถือเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกเครื่องประดับรายหลักสู่ฝรั่งเศส เทียบกับทั้งในกลุ่มประเทศยุโรปหรือประเทศนอกกลุ่มยุโรปด้วยกันเอง แม้ว่าไทยจะประสบปัญหาการส่งออกในหมวดเครื่องประดับทองคำ แต่ไทยยังมีโอกาสทางการตลาดที่ดีในหมวดเครื่องประดับอื่นๆ โดยเฉพาะเครื่องประดับเงิน นอกจากนี้ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche market) ที่กำลังขยายตัวก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่ไทยมีโอกาสเจาะเข้าไป เช่น ในกลุ่มเครื่องประดับสำหรับผู้ชาย หรือเครื่องประดับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

    อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยต้องระวังปัจจัยเหล่านี้
             -  ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในฝรั่งเศส ทำให้ราคากลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
             -  ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญต่อแนวโน้มและกระแสความนิยมเป็นอย่างมาก ผู้ผลิตไทยต้องสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันกระแสความนิยมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
             -  ผู้นำเข้าและร้านจำหน่ายปลีกคาดหวังงวดการชำระเงิน (Credit terms) และบริการสั่งซ้ำ เช่นเดียวกับที่ได้จากประเทศผู้ส่งออกสหภาพยุโรปอื่นๆ ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถส่งสินค้าได้ตามที่กำหนดไว้ได้ด้วยเช่นกัน
             -  ผู้ผลิตต้องรักษามาตรฐานคุณภาพและการส่งมอบ เพราะความเชื่อถือเป็นปัจจัยสำคัญในการค้ากับร้านจำหน่ายปลีกฝรั่งเศส

    บริษัทฝรั่งเศสจำนวนไม่น้อยที่ย้ายฐานการผลิตมาตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นกฎระเบียบด้านการลงทุนที่จูงใจจึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบหรือสินค้าเพื่อผลิตต่อ เพื่อการส่งออก ตัวอย่างล่าสุด ได้แก่ กรณีที่บริษัทฝรั่งเศสยกเลิกโครงการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากภาษีนำเข้าสินค้าเพื่อผลิตต่อมีอัตราสูงเกินไป แม้ว่าบริษัทจะเป็นบริษัทร่วมทุนกับคนไทยและตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมก็ตาม
  • ระเบียบทางการค้า
    ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ตัวแทนจำหน่าย ที่ประกอบธุรกิจสินค้าเครื่องประดับในฝรั่งเศสต้องขึ้นทะเบียนต่อ Bureau de Garantie ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเศรษฐกิจ การเงิน และอุตสาหกรรม ของฝรั่งเศส นอกจากนี้เครื่องประดับที่ผลิตในประเทศไทยและต้องการส่งออกสู่ฝรั่งเศสต้องส่งเอกสารข้อมูลสินค้าและบริษัทโดยละเอียดต่อ Bureau de Garantie เพื่อการตรวจสอบว่าสินค้าเป็นไปตามระเบียบของฝรั่งเศส โดยเฉพาะมาตรฐานน้ำหนักของเงินและทอง

    เครื่องประดับทุกชิ้นที่จำหน่ายในฝรั่งเศสต้องมีตรารับรองสองชนิด (เรียกว่า ‘Poincon’)
             -  ‘Poincon d’Etat’ หรือตรารับรองจากทางการ ที่แสดงชนิดและลักษณะของโลหะมีค่า ซึ่งหลักๆ ได้แก่
             * ตราหัวอินทรีย์สำหรับทอง 750/1000 หรือทอง 18K
             * ตราหัว (Minerva) สำหรับเงิน 925/1000
             * ตราดอกจิกสำหรับทองผสม 375/1000 หรือทอง 9K
             * ตรา ‘V’ สำหรับเงินชุบ
             -  ‘Poincon Responsabilite’ ตรารูปวงรีแทนความรับผิดชอบ สำหรับผู้นำเข้าฝรั่งเศส 
    เครื่องหมายเหล่านี้อาจจะได้รับผ่านบริษัทตัวแทนที่มีอำนาจเต็ม ได้เช่นกัน ทั้งนี้การตรวจสอบ ได้แก่ การตรวจสอบหมายเลขเครื่องประดับ ชั่งน้ำหนัก และตรวจสอบมาตรฐานโลหะมีค่า
  • ภาษีนำเข้าสำหรับเครื่องประดับ มีดังนี้
             -  ภาษีศุลกากร ตั้งแต่อัตราร้อยละ 0-4 ตามรายละเอียดดังนี้
             * เครื่องประดับโลหะมีค่า ร้อยละ 2.5
             * เครื่องประดับแผ่นโลหะมีค่า ร้อยละ 4
             * เครื่องประดับมุก พลอยเนื้อแข็ง พลอยเนื้ออ่อน ร้อยละ 0
             -  ภาษีมูลค่าเพิ่มอัตรามาตรฐานร้อยละ 19
             -  ค่าธรรมเนียมตรารับรอง 8 ยูโรต่อชิ้น สำหรับเครื่องประดับประเภททอง และ 4 ยูโรต่อชิ้นสำหรับเครื่องประดับประเภทเงิน 
            
  • งานแสดงสินค้า
    งานแสดงสินค้าสำคัญสำหรับเครื่องประดับที่จัดในฝรั่งเศส ได้แก่ งาน ‘Eclat de Mode - Bijorhca’ ซึ่งจัดปีละสองครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนกันยายน
    ข้อมูลเพิ่มเติม www.bijorhca.com 

    ข้อมูลจาก http://www.depthai.go.th

Posted by NonNY~* on 10/14/2552. Filed under , , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

1 comments for "ตลาดสินค้าเครื่องประดับในฝรั่งเศส"

  1. มีสินค้าขายไหม ลองมาประกาศขายที่นี่ได้เลยครับ
    http://www.cm-classifieds.com

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด