Loading
250x250 Free Watch

สมัครสมาชิกเพื่อรับข่าวสารทางอีเมล์:

กรุณาตรวจสอบอีเมล์เพื่อยืนยันหลังจากทำการสมัคร

โพสล่าสุด

แบ่งปัน
|

พลอยประจำเดือนเกิด เมษายน – เพชร (Diamond)

ภาพจาก Diamond Blog เพชรเป็นแร่มีรูปร่างผลึก 8 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม มีความโปร่งใส และกึ่งโปร่งใสมีประกายแวววาว  โดยเพชรจัดอยู่ในพวกอัญมณีที่มีค่า สวยงาม และเป็นที่รู้จักกันเช่นเดียวกับอัญมณีอื่นๆ แต่จะเป็นของที่หายากกว่าอัญมณีอื่นด้วยเช่นกันจึงมีการกล่าวว่า ผู้ที่จะได้ครอบครองเพชรนั้นจะต้องเป็นเศรษฐีหรือเชื้อพระวงศ์ ในเรื่องของความเชื่อในอดีตผู้ที่สวมใส่เพชรจะมีอำนาจป้องกันสิ่งชั่วร้ายที่จะเข้ามาถึงตัวเองได้ จึงถือได้ว่าเพชรเปรียบเสมือนเป็นเครื่องรางของขลังมากกว่าการใช้เป็นเครื่องประดับ เพราะเหตุผลในข้อนี้ในอดีตจึงมีผู้ชายสวมใส่เพชรมากกว่าผู้หญิง ตำนานโบราณกล่าวว่า เพชรมีแหล่งกำเนิดมาจากกระดูกยักษ์ชื่อมหาพลสูตรที่คิดพิธีอดอาหารเพื่อเป็นเกียรติยศให้ปรากฏในแผ่นดินแต่พอครบ 7 วันก็สิ้นชีวิตเทวดาจึงนำกระดูกไปฝังทุกแห่ง จึงบังเกิดกลายเป็นเพชรรัตน์

ในทางวิทยาศาสตร์ เพชรเกิดจากธาตุคาร์บอน (C) เกือบบริสุทธิ์ คือประมาณ 99.95% ที่ถูกทับถมอยู่เป็นเวลานานใต้พื้นโลกด้วยแรงกดกว่า 3,000 ตัน อยู่ลึกประมาณ 80 กิโลเมตรของอ๊อกตาฮีดรอน (Octahedron) ที่มี ต่อมาหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimbelite) ได้ดันเพชรขึ้นมาระดับพื้นผิวโลก นอกจากนี้ยังพบเพชรอยู่ในบริเวณลานแร่ (Alluvium) อยู่ประมาณร้อยละ 90 ของเพชรที่พบทั้งหมด

เหมืองเพชรในอินเดียตอนเหนือ แหล่งกำเนิดเพชร
เพชรเป็นแร่ซึ่งเกิดจากความกดดันและอุณหภูมิที่ฝังตัวอยู่ใต้พื้นโลกเพชรถูกนำขึ้นมาพร้อมกับพวกแมคม่า(Magma) พร้อมแร่ชนิดอื่นๆทางภูเขาไฟ แหล่งที่พบเพชรนั้นมีหลายประเทศแต่ก็มีปริมาณเพชรที่แตกต่างกันไป โดยประเทศที่มีการพบเพชร ได้แก่
1. อินเดีย เป็นประเทศแรกที่ค้นพบเพชร กล่าวว่าประเทศอินเดียมีการขุดเพชรมามากกว่า 5000 ปีมาแล้ว ซึ่งเพชรในประเทศอินเดียเป็นเพชรเม็ดใหญ่มีคุณภาพสูง และมีมาก
2. บราซิล เป็นประเทศที่ค้นพบเพชรรองมาจากประเทศอินเดีย โดยพบในปี พ.ศ.2288 แต่เพชรมีขนาดเล็กและสวยงามไม่เท่าอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม
3. แอฟริกา พบเหมืองแร่ใหม่เมื่อ พ.ศ.2410 หลังจากที่เพชรในประเทศบราซิลเริ่มลดน้อยลง เพชรในประเทศแอฟริกามีคุณภาพสูง สวยงาม มีขนาดใหญ่และมีปริมาณมาก
4. รัสเซีย มีการขุดเพชรขึ้นมาใน ค.ศ.1970 มีปริมาณเพชรมากกว่าแอฟริกา

เพชรแบ่งได้เป็น 4 ชนิด
blue diamond จาก Leibish Co. การแบ่งแยกชนิดของเพชรนั้นขึ้นอยู่กับความไม่สะอาดต่างๆ ของธาตุอื่นๆ ที่แทรกเข้ามาในผลึกเพชร โดยแบ่งแยกออกเป็นดังนี้
1. ชนิด la มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.1 ได้แก่ เพชรที่ขุดตามธรรมชาติ
2. ชนิด lb มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.2 ได้แก่ เพชรสังเคราะห์
3. ชนิด lla ไม่มีไนโตรเจน ชนิดนี้หายากมาก
4. ชนิด llb เป็นเพชรที่มี boron อยู่ในผลึกจะมีสีฟ้า หายากมาก

การจำแนกประเภทของเพชร
1. Natural Diamond หรือ เพชรธรรมชาติ หรือเพชรแท้ เป็นเพชรที่เกิดจากอะตอมของคาร์บอนใต้ชั้นเปลือกโลกที่มีความร้อนและความดันสูงมารวมตัวกันกลายเป็นเพชร ซึ่งเป็นเพชรที่เหมืองต่างขุดหากันเพื่อนำมาขาย นำมาเจียระไนจนเป็นเครื่องประดับชิ้นงามและมีราคาสูงในตลาดอัญมณี โดยบริษัท De Beers เป็นบริษัทผูกขาดเพชรรายใหญ่ของโลก
2. Diamond Simulant หรือเพชรเทียม เพชรสีเลียนแบบ เป็นเพชรที่เลียนแบบธรรมชาติให้ดูคล้ายเพชรแต่คุณสมบัติต่างๆ ไม่ใช่เพชรซึ่งเพชรประเภทนี้จะมีส่วนประกอบทางเคมีอยู่ เช่น เพชรรัสเซีย (Synthetic Cubic Zirconia) และมอยส์ซาไนส์สังเคราะห์ (Synthetic moissanite) ซึ่งเพชรเทียมเหล่านี้จะมีราคาต่ำกว่าเพชรแท้เล็กน้อย ส่วนประกอบของเพชรเทียมนี้ไม่ใช่คาร์บอน แต่เป็นเซอร์โคเนียม หรือ ซิลิคอนคาร์ไบด์ ซึ่งเพชรที่เกิดจากการสังเคราะห์นี้จะมีความวาวและมีความแข็งที่ใกล้เคียงกับเพชรแท้มาก
3. Synthetic Diamond หรือเพชรสังเคราะห์ เป็นเพชรที่สังเคราะห์ขึ้นมาจากห้องแล็บ โดยใช้เทคนิค High Pressure/High Temperuture ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ความร้อนมหาศาลในการสังเคราะห์เพื่อเลียนแบบวิธีการเกิดเพชรในธรรมชาติ จึงทำให้เพชรชนิดนี้มีคุณสมบัติเหมือนเพชรแท้ทุกประการเลยก็ว่าได้ แต่กระนั้นเพชรสังเคราะห์นี้มี่ค่าใช้จ่ายในการผลิตที่สูงมากทำให้นำมาใช้ในประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น

ข้อมูล สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ภาพประกอบ
Diamond Blog, Leibish Co.

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

Clean and Care - แหวนเพชร
เพชรสีกับการลงทุน
Diamond Certificate
Diamond Understanding : 4Cs – Carat
Diamond Understanding : 4Cs – Cut
Diamond Understanding : 4Cs – Clarity
Diamond Understanding : 4Cs – Color
Diamond Understanding : Price

Posted by NonNY~* on 4/21/2552. Filed under , , , , , , . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0. Feel free to leave a response

0 comments for "พลอยประจำเดือนเกิด เมษายน – เพชร (Diamond)"

Leave a reply

เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ความคิดเห็นล่าสุด

บทความล่าสุด